Me

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลักษณะของการวางแผนเชิงกลยุทธ์





1. การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (Building competitive advantage) จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ประสบความสำเร็จเป็นบริษัทที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับแต่ละธุรกิจ การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งทำให้องค์การมีความแตกต่าง (มีคุณค่าที่เหนือกว่า) ในผลิตภัณฑ์และบริการจากคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้ามากว่าคู่แข่งขัน ทำให้มีส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการวางแผนกกลยุทธ์ (Strategic Planning) Michael Porter ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “กลยุทธ์การแข่งขัน” (Competitive Strategy) มีเป้าหมายที่จะสร้างผลกำไรเท่าที่จะเป็นไปได้


วิธีที่บริษัทสามารถประสบความสำเร็จจากการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ได้แก่ (1) การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership) เป็นกลยุทธ์การแข่งขันอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การคำนึงถึงประสิทธิภาพในการลดต้นทุน เพื่อให้มีตำแหน่งเหนือกว่าคู่แข่งขัน (2) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) เป็นกลยุทธ์การแข่งขันซึ่งองค์การสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ที่ให้ลูกค้ารับรู้ว่ามีความแตกต่างที่เด่นชัดจากคู่แข่งขัน ผู้บริษัทสามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ โดยถือเกณฑ์ด้านเทคโนโลยี การให้บริการแก่ลูกค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายและอื่น ๆ เมื่อลูกค้าเชื่อว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน ก็เต็มใจที่จะซื้อในราคาที่สูง ประโยชน์ของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างนี้ คือ ความจงรักภักดีจากลูกค้าและกำไรที่สูงขึ้น




2. ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นฝ่ายสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (human resources as a competitive advantage) โดยการทำให้เป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ (Low – cost Leader) และเป็นผู้สร้างความแตกต่าง (Differentiate) และต้องทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกมีข้อผูกพันกับงาน ตัวอย่าง รถยนต์ที่มีต้นทุนที่ต่ำและคุณภาพสูง เช่น รถโตโยต้าไม่ใช่เป็นผลจากเครื่องจักร แต่เป็นผลจากความตั้งใจทำงานด้วยข้อผูกพัน (Commitment) จึงทำให้พนักงานพใจที่จะทำงานหนัก และมีวินัยในตนเองในการที่จะผลิตรถยนต์ที่ดีที่สุดด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น