Me

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต



สมบัติของสิ่งมีชีวิต คือ เป็นหน่วยที่ต้องใช้พลังงานและพลังงานที่ใช้นั้นต้องเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
    หรือในร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ สิ่งมีชีวิตมีสมบัติทางกายภาพและชีวภาพดังนี้ 
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต 
2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต 
3. การเจริญเติบโตอายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต 
4. การการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต 
5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต 
6. ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต 
7. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิต
1. การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต  โดยสิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ในโลกได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป การสืบพันธุ์มี 2 วิธี  คือ 
1.1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) 
1.2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)

  2. สารอาหารและพลังงานของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการสารอาหารและพลังงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะต้องประกอบไปด้วยกระบวนการ  เมแทบอลิซึม(metabolism) เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต แบ่งย่อยได้ 2 กระบวนการ  คือ
2.1. แคแทบอลิซึม (catabolism) 
2.2. แอแนบอลิซึม (anabolism)

  3. การเจริญเติบโต อายุขัยและขนาดของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากันบางชนิดใหญ่มาก เช่น ช้าง สูงถึง  7 เมตร ขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ขนาดเล็ก  เช่น กุ้ง หอย ปู ขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ สิ่งมีชีวิตเมื่อเติบโตได้ในระยะหนึ่งก็จะตาย เราจะเรียกว่า อายุขัย โดยแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน  ดูตาราง 
การเจริญเติบโตประกอบไปด้วยกระบวนการ 4 กระบวนการ คือ
1. การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)
2. การเจริญเติบโต (growth)
3. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ (cell differentiation)
4. การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
4. การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งมีชีวิต
เป็นการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตที่ตอยสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีที่เกิดขึ้น สิ่งเร้า (stimulus) อย่างเดียวกันอาจจะตอบสนอง (respon) ไม่เหมือนกันก็ได้  ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด เช่น แสงเป็นสิ่งเร้าที่พืชเอนเข้าหา ส่วนโพโทซัวหลายชนิดจะเคลี่อนหนี ตัวอย่างการตอบสนอง เช่น พืชตระกูลถั่วจะหุบใบในตอนเย็นหรือกลางคืน ซึ่งเรียกว่าต้นไม้นอน เป็นต้น
  
  


  5. การรักษาดุลยภาพของร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ระดับน้ำในเซลล์และร่างกาย ความเป็นกรด-เบส อุณหภูมิ แร่ธาตุ ระดับน้ำตาลในเลือด  ดังนั้นการรักษาระดับของปัจจัยเหล่านี้จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเซลล์และร่างกายของสิ่งมีชีวิต
เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ มีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคราะห์แสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดปิดของปากใบ การคายน้ำและการลำเลียงสารของพืช ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารขี้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน (cutin) ฉาบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวใบของพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น