Me

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติการ (The strategic planning and implementation process) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วยขั้นตอนโดยมีรายละเอียดดังนี้


1. การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร (Organization ’ s vision) และการกำหนดภารกิจ (Mission determination)
วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึงเป้าหมายที่มีลักษณะกว้างขวางซึ่งเป็นความต้องการในอนาคต โดยไม่ได้กำหนดวิธีการไว้


ภารกิจ (Mission) เป็นลักษณะงานและกิจกรรมขององค์การ การกำหนดภารกิจ (Mission) จะเกี่ยวข้องกับคำถามดังนี้ (1) บริหารอะไร (2) เพื่อใคร (3) ควรจะต้องทำกำไรให้มากที่สุดเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลสูงขึ้นหรือไม่ (4) บริษัทควรมีรายได้เพื่อให้พนักงานมีความมั่นคงหรือไม่


ในการวางแผน การสรรหา การคัดเลือกและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงภารกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่วางแผนไว้ในอนาคต ตลอดจนวิสัยทัศน์ขององค์การในระยะยาวด้วย


2. การประเมินสภาพแวดล้อม (Environmental assessment) เมื่อได้ตัดสินใจในภาระหน้าที่ที่จะทำแล้ว องค์การจะต้องประเมินสภาพแวดล้อมภายในซึ่งเป็นความสามารถขององค์การคือ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) สภาพแวดล้อมภายนอก คือ อุปสรรค (Threats) และโอกาส (Opportunities) เพื่อนำมาวางแผนกลยุทธ์โดยรักษาหรือเพิ่มจุดแข็งที่องค์การมีอยู่ แก้ไขจุดอ่อนให้น้อยลง นำโอกาสของบริษัทมาใช้ให้เกิดประโยชน์และพยายามหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่เกิดขึ้น


การประเมินสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการจัดสรรพนักงานของบริษัทว่าจะจัดสรรพนักงานของบริษัทมากขึ้นในกรณีที่ใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต หรือลดจำนวนพนักงานลงในกรณีที่ใช้กลยุทธ์การตัดทอน ตลอดจนกำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์เหล่านั้น


3. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective setting) เป็นการวางเป้าหมายในระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่วัดได้ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นจำเป็นต้องทราบว่า วัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นอย่างไร


4. กำหนดกลยุทธ์ (Strategy setting) และระดับของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (The levels of strategic planning) กลยุทธ์ (Strategy) เป็นการกำหนดวิธีการต่าง ๆ ที่องค์การต้องใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการกำหนดกลยุทธ์นั้นต้องพิจารณาถึงระดับของการวางแผนเชิงกลยุทธ์


ระดับของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (The levels of strategic planning) การวางแผนกลยุทธ์ควรได้รับการพิจารณาตามระดับขององค์การ โดยปกติแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้


4.1 การวางแผนกลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate-level strategic planning) เป็น
กระบวนการให้ความหมายลักษณะต่าง ๆ ทั้งหมด และวางจุดมุ่งหมายขององค์การ วางธุรกิจที่จะเพิ่มเข้าไปและลดหรือเลิกทำ และวิธีการใช้ทรัพยากรเพื่อกระจายธุรกิจวางแผนกลยุทธ์ระดับบริษัทจะเป็นการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่องค์การจะต้องกระทำ และการตัดสินใจในบทบาทของแต่ละธุรกิจในกลยุทธ์หลักขององค์การ ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ระดับบริษัทจะเป็นความรับผิดชอบเบื้องต้นของผู้บริหารระดับสูงขององค์การ รวมทั้ง ผู้บริหารระดับสูงของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ด้วย ซึ่งจะต้องจัดเตรียมบุคลากรให้สอดคล้องกับทรัพยากรของบริษัท


4.2 การวางแผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business- level strategic planing) เป็นกลยุทธ์ซึ่งมองหาวิธีการว่าจะแข่งขันอย่างไรในแต่ละหน่วยธุรกิจซึ่งบริษัทต้องใช้กลยุทธ์ดังนี้
(1) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)
(2) ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership)
(3) การตอบสนองที่รวดเร็ว (Quick response)
(4) การมุ่งที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก (Forcus) เพื่อให้กลยุทธ์ทั้ง 4 ประการประสบความสำเร็จ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือวามีบทบาทที่สำคัญมากในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันและเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้มีการปรับตัวที่รวดเร็วในแต่ละระดับธุรกิจอันประกอบด้วยนหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์หลายหน่วย


หน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ [A Strategic Business Unit (SBU)] เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจขององค์การ ซึ่งสร้างแยกออกมาที่อาจเป็นธุรกิจเดียว หรือเป็นธุรกิจหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งในแต่ละหน่วยธุรกิจจะต้องสร้างความแตกต่างให้เหนือกว่าคู่แข่งขันโดยอาศัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ


4.3 การวางแผนกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional- level strategic planing) เป็นการสร้างให้เกิดข้อให้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) ในแต่ละหน้าที่ของธุรกิจ อันประกอบด้วย
(1) การตลาด (Marketing)
(2) การปฏิบัติการ (Operations) หรือการผลิต (Production)
(3) การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
(4) การบัญชี (Accounting)
(5) การเงิน (Financial)
(6) การจัดซื้อ (Purchasing)
(7) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
จะเห็นว่าในแต่ละหน้าที่นั้นจะสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ต้องใช้
ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถและเหมาะสมกับแต่ละลักษณะหน้าที่ ตลอดจนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละหน้าที่
5. การปฏิบัติการตามกลยุทธ์ (Strategy implementation) เป็นการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ในขั้นที่ 4 ซึ่งต้องใช้หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์จะต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้


5.1 ความเป็นผู้นำ (Leadership) ผู้นำสามารถที่จะทำให้บุคคลอื่น ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เขาต้องการผู้จัดการต้องมีอิทธิพลต่อสมาชิกขององค์การให้ยอมรับพฤติกรรมที่ต้องการสำหรับการปฏิบัติการตามกลยุทธ์ผู้บริหารระดับสูงจะต้องแสวงหาการปฏิบัติการกลยุทธ์ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ที่จะสร้างความร่วมมือและชักชวนผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นให้สร้างและปฏิบัติการตามแผนกกลยุทธ์


5.2 โครงสร้างองค์การ (Organizational structure) เป็นแบบแผนที่กำหนด
ขอบเขตของงานและความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่ โครงสร้างจะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของผู้จัดการแต่ละคนและระดับของอำนาจหน้าที่ รวมทั้งการรวมงานที่เกี่ยวข้องกันเข้าสู่แผนกเดียวกัน ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างขององค์การโดยมีการวางแผนด้านกำลังคน การสรรหาและคัดเลือกเพื่อจัดคนให้ตรงกับงาน (Put the right man on the right job)


5.3 ข้อมูลและระบบการควบคุม (Information and control systems) ใน
ระบบนี้ประกอบด้วย การให้รางวัล แรงจูงใจ งบประมาณสำหรับการจัดสรรทรัพยากร ระบบข้อมูลสารสนเทศ กฎเกณฑ์ นโยบาย และวิธีดำเนินงานขององค์การ ข้อมูลที่ถูกต้องและระบบการควบคุมต้องได้รับการพัมนาเพื่อช่วยสนับสนุนการปฏิบัติการตามแผนกลยุทธ์


5.4 เทคโนโลยี (Technology) ประกอบด้วย วิธีการ ความรู้ เครื่องมือ
และอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้การสั่งงานขององค์การบรรลุผลสำเร็จ ถ้าองค์การมีการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้จัดการต้องออกแบบ สร้างงานใหม่ สร้างสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องนำมาใช้เพื่อลดต้นทุนและให้เกิดประโยชน์สูงสุด


5.5 ทรัพยากรมนุษย์ (Human resources) ประกอบด้วย การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรม การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่งเพื่อจัดคนให้ตรงกับงาน ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคุมต้นทุนด้านแรงงาน และรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้คงอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น