Me

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลกระทบของกฎหมายต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศที่บัญญัติถึงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทุกคนในผืนแผ่นดินไทย ให้ได้รับความคุ้นครองให้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลโดยเสมอภาคกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้


มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา 30 บุคคลย่อมเสนอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน


การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล และเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้


มาตรา 54 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 55 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ข้อความจากรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 30 มาตรา 54 และมาตรา 55 ได้แสดงถึงสิทธิและเสรีภาพ ความคุ้มครองที่บุคคลต่าง ๆ พึงได้รับจากกฎหมาย ซึ่งจะมีผลให้นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเหมาะสม ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้าง ได้แก่ การให้ความเท่าเทียมกันในการจ้างงานไม่เลือกปฏิบัติอันมีสาเหตุมาจากถิ่นกำเนิด เชื้อชาติภาษา เพศ อายุ สถานะทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา เช่น การได้รับค่าจ้างในอัตราเท่ากันระหว่างชายและหญิง ถ้ามีความสามารถเท่ากันหรือทำงานประเภทเดียวกัน เพื่อให้แรงงานหญิงได้รับโอกาสและการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ไม่ให้แรงงานหญิงถูกล่วงเกินทางเพศ


มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
การทรมาน ทารุณ หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำได้


มาตรา 53 เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม


ข้อความจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 31 และมาตรา 53 จะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานเด็ดที่จะถูกใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมในการจ้างงาน รวมทั้งการจะได้รับความปลอดภัยในการทำงานสำหรับการทำงานที่มีอันตราย


มาตรา 61 บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ


มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมชนโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายเฉพาะในกรณีการชุมชนสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะการสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก


มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น


ข้อความจากรัฐธรรมนูญมาตรา 61 มาตรา 44 และมาตรา 45 จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในด้านการร้องทุกข์และการดำเนินการเกี่ยวกับการรวมตัว เพื่อการก่อตั้งสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน เป็นต้น




นอกจากกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแรงงานและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัติเงินทดแทน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พระราชบัญญัติประกันสังคม และพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
วัตถประสงค์ที่ออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนพระราชบัญญัติฉบับเดิมที่ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ซึ่งบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะกับสภาพการณ์การบริหารแรงงานในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรม และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง สมควรปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มการห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ การใช้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กมีสิทธิลาเพื่อศึกษาอบรม การให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ของลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการ การกำหนดเงื่อนไขในการนำหนี้บางประเภทมาหักจากค่าตอบแทน การทำงานของลูกจ้าง การจัดตั้งกองทุนเพื่อสงเคราะห์ลูกจ้างหรือบุคคลซึ่งลูกจ้างระบุให้ได้รับประโยชน์ หรือในกรณีที่มิได้ระบุให้ทายาทได้รับประโยชน์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกของลูกจ้างที่ถึงแก่ความตาย ตลอดจนปรับปรุงอัตราโทษให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานจะมีการแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ ได้แก่ การใช้แรงงงานทั่วไป การใช้แรงงานหญิงการใช้แรงงานเด็ก ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด คณะกรรมการค่าจ้าง สวัสดิการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การควบคุม การพักงาน ค่าชดเชย การยื่นคำร้อง และการพิจารณาคำร้อง กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พนักงานตรวจแรงงาน การส่งหนังสือ และบทกำหนดโทษ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในบางหมวด เช่น การใช้แรงงานหญิง การใช้แรงงานเด็ก และความปลอดภัยในการทำงาน


1. การใช้แรงงานหญิง กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1.1 งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น
1.2 งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
1.3 งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
1.4 งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น.ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด หรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้




(1) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
(2) งานขับเคลื่อนหรือผิดไปกับยานพาหนะ
(3) งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
(4) ทำงานในเรือ
(5) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


ในกรณีลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานในหน้าที่เดิมที่เป็นการชั่วคราวก่อน และห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์


2. การใช้แรงงานเด็ก ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน จัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการ และแจ้งการสิ้นสุดการจ้างต่อพนักงานตรวจสอบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เด็กออกจากงาน


ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กมีเวลาพักวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงติดต่อกัน หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง และใน 4 ชั่วโมง นั้นให้มีเวลาพักตาที่นายจ้างกำหนดเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถ


ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น.ถึง 06.00 น. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด นายจ้างอาจให้ลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้แสดงภาพยนตร์ ละคร หรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายคลึงกัน ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น. ทั้งนี้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเด็กนั้นได้พักผ่อนตามสมควร


ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้
(1) งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
(2) งานปั๊มโลหะ
(3) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียงและแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ อันอาจเป็นอันตราย
(4) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
(5) งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นเชื่อไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื่ออื่นที่เป็นอันตราย
(6) งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
(7) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น
(8) งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
(9) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
(10) งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
(11) งานทำความสะอาดเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์ ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลังทำงาน
(12) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป


ห้ามจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่ดังต่อไปนี้
(1) โรงฆ่าสัตว์
(2) สถานที่เล่นการพนัน
(3) สถานที่เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย และบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า


ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างเด็กให้แก่บุคคลอื่น และห้ามเรียกหรือรับเงินประกันเพื่อการใด ๆ จากลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก


นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึกหรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้างเด็ก และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ 1 ปี ต้องไม่เกิน 30 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น